สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ประกอบด้วย
- หมู่ที่ 1 บ้านบือเจาะ
- หมู่ที่ 3 บ้านดูกู
- หมู่ที่ 5 บ้านเปาเบาะ
- หมู่ที่ 6 บ้านบาดง
- หมู่ที่ 7 บ้านดูกูสุเหร่า
- หมู่ที่ 8 บ้านบือเจาะ 2
สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ หมู่ที่ 7 ถนนบาเจาะ – บ้านทอน ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส 96170 โทร. 073 – 709885 , โทรสาร. 073 – 709885
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศตำบลบาเจาะ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดจากทิศตะวันตกสู่ตะวันออก ซึ่งค่อยๆลาดลงเป็นที่ราบลุ่ม โดยเริ่มจากพื้นที่ภูเขาในหมู่ที่ 6 สู่หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 7 สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การเพาะปลูก
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศ มี 2 ฤดู คือฤดูร้อนกับฤดูฝน โดยฤดูร้อนจะเริ่มเดือนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน และฤดูฝนจะเริ่มในช่วงเดือนพฤษภาคม - มกราคม จะเริ่มมีฝนตกหนักติดต่อกันไปถึงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม โดยจะมีฝนตกหนักในเดือนพฤศจิกายน
2. ด้านการเมืองหรือการปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะได้ยกฐานะมาจากสภาตำบลบาเจาะ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 ตั้งอยู่ในตอนกลางของอำเภอบาเจาะ ห่างจากที่ว่าการอำเภอบาเจาะประมาณ 2 กิโลเมตรห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนราธิวาส 28 กิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่บ้าน จำนวน 6 หมู่บ้าน และมีพื้นที่บางส่วนของหมู่บ้านในเขตเทศบาลเจาะ จำนวน 5 หมู่บ้าน
มีเนื้อที่ 21.69 ตารางกิโลเมตร (13,556.25 ไร่) มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลกาเยาะมาตี ประกอบด้วยพื้นที่หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 7
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลลุโบ๊ะสาวอ ประกอบด้วยพื้นที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 8
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบาเระใต้ ประกอบด้วยพื้นที่หมู่ที่ 7, 8และหมู่ที่ 5
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทือกเขาบูโดและอำเภอรามัน ประกอบด้วยพื้นที่หมู่ที่ 6
จำนวนหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
- หมู่ที่ 1 บ้านบือเจาะ (อบต.บางส่วน)
- หมู่ที่ 3 บ้านดูกู (อบต.บางส่วน)
- หมู่ที่ 5 บ้านเปาเบาะ (อบต.บางส่วน)
- หมู่ที่ 6 บ้านบาดง (อบต.บางส่วน)
- หมู่ที่ 7 บ้านดูกูสุเหร่า (อบต.เต็มพื้นที่)
- หมู่ที่ 8 บ้านบือเจ๊าะ 2 (อบต.บางส่วน)
2.2 การเลือกตั้ง
การเมือง การบริหาร
องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 19ตุลาคม 2556 โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งดังนี้
สรุปผลการใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารตำบลบาเจาะ
วันที่ 19 ตุลาคม 2556 เขตเลือกตั้ง
เขตเลือกตั้ง | หมู่ที่ | จำนวนผู้มีผู้มาใช้สิทธิ | การใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง | บัตรไม่ประสงค์ | หมายเหตุ | ||||
ผู้มาใช้สิทธิ | บัตรเสีย | ลงคะแนน | |||||||
จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | ||||
1 | บือเจ๊าะ | 278 | 260 | 93.52 | 13 | 5 | 1 | 0.38 | |
3 | ดูกู | 628 | 521 | 82.96 | 32 | 6.14 | 2 | 0.38 | |
5 | เปาเบาะ | 245 | 231 | 94.28 | 5 | 2.16 | 1 | 0.43 | |
6 | บาดง | 309 | 280 | 90.61 | 6 | 2.14 | 1 | 0.35 | |
7 | ดูกูสุเหร่า | 587 | 503 | 85.56 | 11 | 2.18 | 2 | 0.39 | |
8 | บือเจ๊าะ 2 | 352 | 317 | 90.05 | 8 | 2.52 | 1 | 0.31 | |
รวมทั้งสิ้น | 2,399 | 2112 | 88.03 | 75 | 3.55 | 8 | 0.37 |
หมายเหตุ **** 1. สมาชิกสภาท้องถิ่นเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
2. ผู้บริหารท้องถิ่นเลือกตั้งแบบรวมเขตเลือกตั้ง
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ที่มา : ที่ทำการปกครองอำเภอบาเจาะ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เดือน มีนาคม 2562)
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ 15 – 60 ปี ร้อยละ 80 อ่าน เขียน ภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้ เด็กอายุ 6 – 14 ปี ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือเทียบเท่าและที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำร้อยละ 92 ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ปัญหาคือการศึกษาในตำบลไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ได้ การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดกิจกรรมให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การสนับสนุนวัสดุในการฝึกทักษะเด็ก อาหารเสริมนม อาหารกลางวัน ส่วนทางโรงเรียนในพื้นที่ก็สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งอาหารกลางวัน และร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ กับทางโรงเรียน
การศึกษา ข้อมูล ณ ปัจจุบัน
ข้อมูลโรงเรียนบ้านดูกู ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2559
ข้อมูลโรงเรียนบ้านดูกู ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2559
4.2 สาธารณสุข
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ไม่มีสถานพยาบาลแต่มีศูนย์บริการสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน จำนวน 6 แห่ง 2) สถานการณ์ / ปัญหาสุขภาพ (ตำบลบาเจาะ)
โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางด้านระบาดวิทยา
- 1.โรคไข้เลือดออก
- 2.โรคไข้มาลาเรีย
- 3.โรคมือเท้าเปื่อย
- 4.โรคอุจจาระร่วง
4.3 อาชญากรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะมีอาชญากรรมเกิดขึ้น ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว คือ การติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่สาธารณะ รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่นในชุมชน การแก้ปัญหาคือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจากผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุนแรง สิ่งที่สำคัญในการป้องกันภัย ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีการเฝ้าระวังเหตุ ช่วยเหลือดูแลกัน มีอะไรให้ช่วยเหลือกัน สร้างความสามัคคีในชุมชน
4.4 ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในเขตตำบลบาเจาะ จากการที่ทางสถานีตำรวจหรือข้อมูลจากอำเภอแจ้งบำบัดผู้ติดยาเสพติดให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลทราบนั้น พบว่าในเขตตำบลมีผู้ติดยาเสพติดอยู่ในพื้นที่ไม่มากนัก หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ก็เป็นเรื่องของหน่วยงานอื่นเข้ามาดูแล ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
4.5 การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้
- ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
- รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
- ประสานทำบัตรผู้พิการ
- ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
- ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
เส้นทางการคมนามที่ใช้ติดต่อในเขตพื้นที่ตำบลแม่หวาดและพื้นที่ใกล้เคียงมีดังนี้
1. ทางหลวงแผ่นดิน
- หมายเลข 4155 บาเจาะ – บ้านทอน
- หมายเลข 412 สายเพชรเกษม
2. สะพาน
- สะพานมีจำนวน - สะพาน
3. การจัดการขนส่งมวลชน
- รถทัวร์สไหงโกลก – กรุงเทพฯ
- รถทัวร์สุไหงโกลก – ภูเก็ต
- รถตู้นราธิวาส – หาดใหญ่
- รถตู้นราธิวาส – ยะลา
- รถ – ยะลา
5.2 การไฟฟ้า
- หมู่บ้านที่อยู่ในเขตตำบลแม่มีจำนวนทั้งสิ้น 788 ครัวเรือน
- มีไฟฟ้าใช้ มีจำนวน 758 ครัวเรือน
- มีไฟฟ้าโซล่าเซลใช้ มีจำนวน - ครัวเรือน
- ไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 30 ครัวเรือน
5.3 การประปา
แหล่งน้ำในพื้นที่ตำบลบาเจาะส่วนใหญ่ได้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไหลมาจากไหล่เขามาเป็นลำธารขนาดเล็ก และบึง น้ำตกและประปาหมู่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ก็มีบ่อน้ำขุดสำหรับอุปโภคบริโภค แต่ช่วงหน้าแล้งน้ำในลำธารที่ไหลมาจากไหล่เขาก็จะมีน้ำค่อนข้างน้อยทำให้ประชาชนในพื้นที่มีน้ำไม่เพียงพอในการใช้อุปโภค บริโภค และทำการเกษตร และแหล่งน้ำเราได้มาจาก 2 แหล่งน้ำด้วยกัน ประกอบด้วย
1. แหล่งน้ำธรรมชาติ
- แม่น้ำ จำนวน - แห่ง
- ห้วย/ลำธาร จำนวน - แห่ง
- คลอง จำนวน 2 แห่ง
- หนอง/บึง จำนวน - แห่ง
- น้ำตก จำนวน - แห่ง
2. แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
- อ่างเก็บน้ำ จำนวน - แห่ง
- ฝายน้ำ จำนวน 3 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน 3 แห่ง
5.4 โทรศัพท์
จำนวนเครือข่ายการใช้โทรศัพท์ยังไม่มีสัญญาณที่ทั่วถึง แบ่งเป็นส่วนดังรายละเอียดดังนี้
- จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคล จำนวน - หมายเลข
- จำนวนชุมสายโทรศัพท์ จำนวน - ชุมสาย
- หอกระจายข่าวหมู่บ้าน จำนวน 6 หมู่บ้าน
- โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีสัญญาณ จำนวน - หมู่บ้าน
5.5 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์
ไปรษณีย์หลักอยู่ที่เขตเทศบาลตำบลบาเจาะ รับสินค้าที่ไปรษณีย์ตำบลแม่หวาดไปยังหมู่บ้านของตนเอง เพื่อนำจดหมายและพัสดุไปส่งให้ประชาชนเขตรับผิดชอบของตน
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ประชากรในพื้นตำบลบาเจาะ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา สวนผลไม้ ทุเรียน ลองกอง มังคุด เงาะ ฯลฯ
- อาชีพเกษตรกรรม
- อาชีพเลี้ยงสัตว์
- อาชีพค้าขาย
- อาชีพรับจ้างทั่วไป
6.2 การปศุสัตว์
ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงวัว เลี้ยงแพะ
6.3 การบริการ
พื้นที่มีสถานที่ให้บริการ ดังรายละเอียดดังนี้
- ร้านอาหาร จำนวน 5 แห่ง
- ปั้มน้ำมันหลอด จำนวน 1 แห่ง
- ร้านบริการ ล้าง อัดฉีด รถยนต์ จำนวน 1 แห่ง
- ร้านขายของชำ จำนวน 16 แห่ง
- ร้านขายปลีก ส่ง ทางอินเตอร์เน็ต จำนวน 1 แห่ง
- ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ ไฟฟ้า จำนวน 1 แห่ง
7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
อบต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส |
||||
ชื่อหมู่บ้าน |
ชาย (คน) |
หญิง (คน) |
ครัวเรือน |
พื้นที่ (ไร่) |
(ครัวเรือน) |
||||
บ้านบือเจ๊าะ |
252 |
267 |
98 |
0 |
บ้านดูกู |
516 |
567 |
242 |
0 |
บ้านเปาเบาะ |
171 |
182 |
76 |
0 |
บ้านบาดง |
278 |
274 |
91 |
0 |
บ้านดูกูสุเหร่า |
460 |
485 |
187 |
0 |
บ้านบือเจ๊าะ 2 |
267 |
286 |
121 |
0 |
สรุปรวม |
1944 |
2031 |
815 |
0 |
7.1 การเกษตรองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ลักษณะการประกอบอาชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจคือ ยางพารา ข้าวนาปี มะพร้าว ลองกอง มังคุด ทุเรียน เป็นต้น สรุปได้ดังนี้
ด้านการเกษตร
หมู่บ้าน ชุมชน |
นาข้าว ไร่/ครัวเรือน |
สับปะรด ไร่/ครัวเรือน |
ลองกอง ไร่/ครัวเรือน |
เงาะ ไร่/ครัวเรือน |
มังคุด ไร่/ครัวเรือน |
สละ ไร่/ครัวเรือน |
ทุเรียน ไร่/ครัวเรือน |
ยาง ไร่/ครัวเรือน |
ไร้อ้อย ไร่/ครัวเรือน |
มะพร้าว ไร่/ครัวเรือน |
ไร่มันสำปะหลัง ไร่/ครัวเรือน |
ม.1 |
55/446 |
6/3 |
51/138 |
9/18 |
15/13 |
|
10/7 |
60/120 |
2/3 |
55/210 |
|
ม.3 |
90/485 |
9/3 |
45/161 |
15/29 |
21/13 |
|
18/13 |
145/1155 |
2/1 |
53/197 |
6/1 |
ม.5 |
168/870 |
6/1 |
28/97 |
10/17 |
19/10 |
|
19/123 |
35/55 |
|
59/258 |
1/1 |
ม.6 |
30/195 |
|
26/66 |
9/12 |
9/12 |
|
36/30 |
140/912 |
|
5/134 |
|
ม.7 |
155/675 |
|
25/81 |
2/4 |
7/6 |
10/10 |
12/8 |
25/139 |
|
10/30 |
|
ม.8 |
80/557 |
|
32/49 |
11/10 |
8/8 |
|
9/5 |
35/129 |
|
19/58 |
|
รวม |
578/3,228 |
21/7 |
207/592 |
56/60 |
79/62 |
10/10 |
104/75 |
440/2600 |
4/4 |
201/887 |
7/3 |
8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
- มีมัสยิด 8 แห่ง
- สุเหร่า 6 แห่ง
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
- ประเพณีวันอีด (ฮารีรายอ)
- ประเพณีวันอาสูรอ
- ประเพณีวันเมาลิด
- ประเพณีมหกรรมผลไม้และของดีเมืองบาเจาะ ฯลฯ
8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประชาชนในเขตตำบลบาเจาะได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการสานตะกร้าไว้ใช้ในครัวเรือน วิธีการจับปลาตามธรรมชาติเพื่อให้ปลาไม่สูญพันธุ์ วิธีการทำไม้กวาดจากดอกหญ้า น้ำมันสมุนไพรที่ใช้กันทั่วไป และชาวมุสลิมก็มีการทำชุดขันหมากหรือภาษาอิสลามเรียกว่า “บุหงาซีเละ” ถ้าเป็นพวกอาหารการกินก็จะมี กล้วยฉาบ ปลาส้ม ทุเรียนทอด เป็นต้น
ภาษาท้องถิ่น
- ภาษามาลายู คิดเป็นร้อยละ 100
8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ประชาชนในเขตตำบลบาเจาะได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ ไม้กวาดดอกหญ้า ตะกร้าสานพลาสติก กล้วยฉาบ
9. ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ
น้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝนและน้ำป่าที่ไหลลงมาจากภูเขาเป็น ลำธาร ห้วย หนอง บึง และน้ำตก พร้อมทั้งมีการสร้างฝายกั้นน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งจะมาต่อท่อระบบส่งน้ำทำเป็นประปาหมู่บ้าน แต่ก็ยังไม่เพียงพอในช่วงเหน้าแล้งเพราะฝนไม่ตกน้ำที่ไหลจากไหล่เขาลงมาลำธารแห้งไม่มีน้ำกักเก็บได้ ก็จะมีความลำบากในการใช้น้ำอุปโภค บริโภค และทางการเกษตรไม่เพียงพอ
9.2 ป่าไม้
ป่าไม้ในเขตตำบลบาเจาะจะเป็นไม้ยืนต้น ถ้าเข้าไปในเขตป่าด้านบนของภูเขาจะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นป่าดงดิบชื้นมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ และเมื่อเข้าเขตพื้นที่ทำกินของประชาชนป่าไม้ส่วนใหญ่จะเป็นต้นไม้ยางพารา และเป็นต้นไม้สวนผลไม้ของประชาชนเป็นจำพวกต้นทุเรียน ต้นลองกอง ต้นมังคุด ต้นเงาะ เป็นต้น
9.3 ภูเขา
ในเขตตำบลบาเจาะส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีพื้นที่ราบเพียงเล็กน้อย และพื้นที่ทำกินของประชาชนส่วนใหญ่ก็จะเป็นภูเขาและทุ่งนา
10. การแก้ปัญหาในพื้นที่
1) สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น อำเภอ ตำรวจ โรงพยาบาล สาธารณสุข ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ กับชุมชน ให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจและได้รับความคุ้มครองทางสังคม มีความเป็นกลาง รับทราบปัญหาและเร่งแก้ปัญหาให้ประชาชน
2) กระจายเงินอุดหนุนช่วยเหลือประชาชนในหมู่บ้านทุกหมู่บ้านอย่างเท่าเทียมกัน
3) ส่งเสริม สนับสนุน ทางด้านการศึกษา โดยการสนับสนุนจัดกิจกรรมให้เด็กได้รับความรู้ต่าง ๆ
4) อำนวยความสะดวก ประสานงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการใช้ประโยชน์จากดินและน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ของชุมชน เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส
5) ส่งเสริมกิจกรรมให้ชุมชนปลอดสิ่งเสพติด เช่น จัดกิจกรรมให้เยาวชนได้ร่วมกิจกรรม
6) ส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
7) สร้างกิจกรรมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการแก้ปัญหาของประชาชน