Uncategorised

เขียนโดย ชาคริต ปะนาฆอ
หมวด:

ประวัติความเป็นมา

    ตำบลบาเจาะ เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอบาเจาะ อยู่ในหมู่ที่ ๒ คือบ้านแป๊ะบุญ ซึ่งแต่เดิมมีชาวจีนอพยพมาอาศัยอยู่ มีชื่อว่า "บุญ" และตามภาษาพื้นมืองจะเรียกว่า "แป๊ะ" มาตั้งร้านค้าขายของและรับซื้อของป่าจากชาวบ้าน ซึ่งมีอยู่เพียงร้านเดียวในหมู่บ้านชาวบ้านจึงเรียกว่า "แป๊ะบุญ" จนติดปากกระทั่งปัจจุบัน และใช้เป็นชื่อของหมู่บ้านมาโดยตลอด

    พื้นเพดั้งเดิมของชาวบ้าน จะเป็นชาวไทยนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่และจะอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งอยู่ตามแนวยาวและลึกของถนนเพื่อสะดวกแก่การคมนาคม ติดต่อค้าขายผลผลิตทางการเกษตรและของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็น

  ภาษาที่ใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาท้องถิ่น คือภาษายาวี ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ และมีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ในปัจจุบันชาวไทยมุสลิมได้เริ่มนิยมใช้ภาษาไทยมากยิ่งขึ้นมากกว่าร้อยละ ๕๐ สำหรับชายไทยมุสลิมจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้คัมภีร์อัลกุรอ่านเพื่อใช้ในการประกอบศาสนกิจประจำวัน จึงจะสามารถอ่านและเขียนภาษาอาหรับได้

   ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม/วันสำคัญทางศาสนาของชาวไทยมุสลิม มีพิธีเข้าสุนัต การถือศีลอด ประเพณีงานเมาสิด ประเพณีการแต่งงาน การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

 

 

สภาพทั่วไป

  ลักษณะที่ตั้งอาณาเขตและเขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะได้ยกฐานะมาจากสภาตำบลบาเจาะ เมีอวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ตั้งอยู่ในตอนกลางของอำเภอบาเจาะ ห่างจากที่ว่าการอำเภอบาเจาะประมาณ ๒ กิโลเมตร ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนราธิวาส ๒ กิโลมตร ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน ๘ หมู่บ้าน และมีพื้นที่บางส่วนของหมู่บ้านในเขตเทศบาลบาเจาะจำนวน ๗ หมู่บ้าน มีเนื้อที่ ๒๑.๖๙ ตารางกิโลเมตร (ด๓,๕๕๖.๒๕ ไร่)